Page 54 - คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง 2567
P. 54

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
            เปนการประเมินพัฒนาทางด้านคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยม  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
        ตามคุณลักษณะที่สถานศึกษากําหนด การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จะประเมินเปนรายคุณลักษณะ
        ทุกภาคเรียน และตัดสินผลการประเมินเปน ๔ ระดับ ดังนี้
            ดีเยี่ยม  หมายถึง  ผู้เรียนมีพฤติกรรมตามตัวบ่งชี้ผ่านเกณฑ์  ร้อยละ  ๘๐  -  ๑๐๐  ของจํานวนตัวบ่งชี้
                          คุณลักษณะนั้นๆ แสดงว่าผู้เรียนมี คุณลักษณะนั้นๆ จนสามารถเปนแบบอย่างแก่
                          ผู้อื่นได้
            ดี     หมายถึง  ผู้เรียนมีพฤติกรรมตามตัวบ่งชี้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๖๕ - ๗๔๙ ของจํานวนตัวบ่งชี้
                          คุณลักษณะนั้นๆ  แสดงว่าผู้เรียนมีคุณลักษณะนั้นๆ  ด้วยการปฏิบัติด้วยความเต็มใจ
            ผ่าน    หมายถึง  ผู้เรียนมีพฤติกรรมตามตัวบ่งชี้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๕๐ - ๑๔ ของจํานวนตัวบ่งชี้
                          คุณลักษณะนั้นๆ ได้ปฏิบัติตนด้วยความพยายามปฏิบัติตนตามคําแนะนํา
            ไม่ผ่าน  หมายถง  ผู้เรียนมีพฤติกรรมตามตัวบ่งชี้ผ่านเกณฑ์  ตํากว่าร้อยละ  ๕๐  ของจํานวนตัวบ่งชี้
                       ึ
                          ในคุณลักษณะนั้น แสดงว่าผู้เรียนมีคุณลักษณะนั้นๆ ต้องมีผู้อื่นคอยกระตุ้นเตือน เมื่อ
            เลื่อนชั้นจะพิจารณาจากผลการประเมิน ดีเยี่ยม, ดี, ผ่าน โดยต้องมีผลการประเมินอยู่ใน ระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป


        การสอบแก้ “๐” แก้ “ร” และ “มผ”
            เพื่อให้การสอบแก้  “๐”  การแก้  “ร”  และ  “มผ”  เปนไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย
        การประเมินผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงขอ
        กําหนดรายละเอียดและขั้นตอนการดําเนินการดังนี้
            ๑. เอกสารที่นักเรียนได้รับ
               ๑.๑ ให้นักเรียนขอรับแบบติดตามและแบบคําร้องขอสอบแก้ตัวได้ที่ครูประจําชั้น นักเรียนกรอกข้อความ
        ในแบบติดตาม (o,ร,มผ) ให้ถูกต้องและชัดเจน โดยครูประจําชั้นตรวจสอบ ความถูกต้อง
               ๑.๒ ให้นักเรียนนําแบบติดตามไปพบครูประจําวิชาเพื่อนัดหมายการสอบ
            ๒. กำาหนดการสอบแก้ “๐”
               ให้หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้เปนผู้รับผิดชอบ  ในการจัดครูในกลุ่มสาระเปนผู้ควบคุมห้องสอบให้เปนไป
        ตามตารางสอบที่ฝายวิชาการได้กําหนดไว้  ทั้งนี้ให้ครูประจําวิชาได้จัดเตรียมข้อสอบ  ให้เปนไปตามตัวชี้วัด
        ในส่วนที่นักเรียนบกพร่อง
            ๓. กำาหนดการสอบแก้ “ร” และ “มผ”
                                                                     ั
               ให้ครูประจําวิชามอบหมายงานเปนลายลักษณ์อักษรในแบบติดตามของนักเรียนท้งนี้ให้นักเรียน
        ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันและเวลาที่กําหนด
            ๔. การส่งผลการสอบแก้ “๐”
               ให้ครูประจําวิชาส่งผลการสอบ โดยแจ้งผ่านหัวหน้ากลุ่มสาระฯ ส่งฝายวัดผลภายในวันและเวลาที่กําหนด





                                          54
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59